วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี




ประวัติการก่อสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี
วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2534 เวลา 9.19น.ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม จ.ศ. 1353 เป็นวันดี วันอุดมฤกษ์ โดยมีพลเรือเอก ปรีดา กาญจนรัตน์ ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด และเรือตรี สุกรี รักษ์ศรีทอง ผู้ว่าราชการป้องกันชายแดนจันทบุรีเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ร่วมกัน มีข้าราชการพลเรือ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน ทุกสาขาอาชีพในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมในพิธีมากมาย
ศาลออกแบบและเขียนแบบโดยช่างของกรมศิลปกร เป็นรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือรูปหมวกยอดแหลม ความสูงจากพื้นระดับถึงยอดหมวก 16.90เมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 9 เมตร ภายในศาลมีแท่นสำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระรูปของพระองค์ท่าน ยอดบนสุดเป็นฉัตร ทองคำ 9 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสามด้าน เป็นสองระดับ ระดับล่างมีบันไดสามชั้น ระดับบนมีบันได 6 ชั้น รวมเป็น 9 ชั้น ราวบันไดเป็นรูปพลสิงห์ ลำตัวอ่อนช้อยไปตามชั้นบันได กล่อด้วยโลหะทองเหลืองรมดำ ดูแล้วน่ายำเกรงเป็นอันมาก รอบนอกศาลบุด้วยหินอ่อน พื้นปูด้วยหินแกรนิต ด้านในศาลเขียนลายไทยแบบพุ่มข้าวบิณฑ์ ประตูไม้มะค่าแผ่นใหญ่ หน้าต่างไม้มะค่าและไม้สักทอง
ด้านหน้าศาลราวบันไดชั้นล่างมีสิงโตขนาดใหญ่ ข้างละ 1 ตัว นั่งอยู่ และยังมีกระถางธุปสามขนาดใหญ่ตั้งไว้ให้ประชาชนปักธูปบูชา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2534 ใช้เวลาในการสร้าง 3 ปีเศษ ได้ประกอบพิธีเปิดศาลและยกฉัตรทองคำ เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและยกฉัตรทองคำขึ้นสู่ยอดศาล พิธีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการศาลและชาวจันทบุรีมีความภาคภูมิใจปลื้มใจจนหาที่สุดมิได้ ศาลกลังนี้ใช้เงินในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 6,675,489.00 บาท เงินจำนวนดังกล่าวนี้ได้รับแรงศรัทธาบริจาคร่วมในการก่อสร้างจากประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งพี่น้องชาวไทยทั้งมวลด้วย
วิธีสักการะ
  • การไหว้ขอพร ธูป 5 ดอก เทียน 1 เล่ม ไหว้ด้านหน้าของศาล
  • วีธีบน ใช้ธูป 14 ดอก เทียน 2 เล่ม ไหว้ด้านหน้าของศาล
  • ไหว้แก้บน ธูป 14 ดอก เทียน 2 เล่ม และแก้บนตามคำกลาว หรือนำอาหารมาถวายท่าน
(นะโม 3 จบ) อาราธนาดวงพระวิญญาณ
โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรู วินาสสันติ
ถายเครื่องสักการะ
โอม สิโน ราชาเทวะ นะมามิหัง
นอกจากนี้ก็ยังสามารถถวายเครื่องสักการะอื่นๆ เวลาเดินทางเข้ามาสักการะบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกตัวอย่างเช่น ดาบ, สัตว์มงคลเช่น ม้า ไก่ เป็นต้น ซึ่งสามารถสอบถามทางเจ้าหน้าที่ดูแลศาลได้เลย

เราจะเข้าตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือ และต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว

เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของเจ้าตาก และเพึ่อรำลึกว่าบรรพบุรุษชาวจันทบุรีจำนวนไม่น้อย ได้เป็นทหารร่วมไปในกองทัพของเจ้าตาก ทั้งดินแดนเมืองจันทบุรีนี้ เป็นพื้นที่ที่เจ้าตากเคยใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลตลอดจนตระเตรียมกองทัพไปทำการรบได้รับความสำเร็จ ชาวจันทบุรีพร้อมด้วยผู้ที่มีจิตศรัทธาจึงร่วมแรงกายใจและกำลังทรัพย์ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น สถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ แห่งหนึ่งอยู่บนเกาะกลางสวนสาธารณะ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระบรมรูปทรงม้าในท่ากระโจน ชูพระแสงดาบไปข้างหน้า มีทหารเอกขนาบข้างม้า ๔ นาย สถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ อีกแห่งหนึ่งอยู่ในค่ายตากสิน บริเวณหน้ากองบังคับการ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ นาวิกโยธิน พระบรมรูปอยู่ในท่าประทับยืนบัญชาการรบ ลักษณะท่าทางเด็ดเดี่ยวจริงจังเห็นได้จากพระพักตร์เครียด พระหัตถ์ขวาทรงชูพระแสงดาบไปยังที่หมายของข้าศึก พระพักตร์ทรงหันไปตามพระหัตถ์ซ้าย แสดงพระอาการรับสั่งกับไพร่พลบริวารให้รับรู้ว่าต้องพร้อมที่จะปฎิบัติอย่างรีบเร่งรุดหน้าตามพระองค์บุกเข้าหาข้าศึก พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนี้ เป็นที่สักการบูชาของชาวจันทบุรี เหล่าทหารและบุคคลทั่วไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น