แพ็คเก็จเที่ยวเมืองจันทร์ 2 วัน 1 คืน ราคาสบาย สบาย 3,300 บาท/ท่าน

บริการนำเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี ถึง 10 แห่ง บริการรวมพาหนะรถ ตลอดโปรแกรมกิจกรรมท่องเที่ยว

แพ็คเก็จเที่ยวเมืองจันทร์ 2 วัน 1 คืน ราคาสบาย สบาย 3,300 บาท/ท่าน

ท่องเที่ยวสนุก สัมผัสธรรมชาติ ปากน้ำแหลมสิงห์ น้ำตกกระทิง ชิมผลไม้อร่อย

แพ็คเก็จเที่ยวเมืองจันทร์ 2 วัน 1 คืน ราคาสบาย สบาย 3,300 บาท/ท่าน

ไหว้หลวงพ่อเขียนวัดกระทิง คุกขี้ไก่, ตึกแดง ,จุดชมวิวพระยืน, จุดชมวิวเนินนางพญา

แพ็คเก็จเที่ยวเมืองจันทร์ 2 วัน 1 คืน ราคาสบาย สบาย 3,300 บาท/ท่าน

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ,กราบพระนอนวัดไผ่ล้อม ,โบสถ์อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล, ชุมชนริมน้ำจันทบูร

แพ็คเก็จเที่ยวเมืองจันทร์ 2 วัน 1 คืน ราคาสบาย สบาย 3,300 บาท/ท่าน

ห้องพักซูพีเรีย กระทิงคันทรีรีสอรต์ บริการ อาหาร 3 มื้อ อาหารเช้า 2 มื้อ เที่ยง 1 มื้อ เย็น 1 มื้อ และเครื่องดื่ม

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จุดชมวิวพระยืน

จุดชมวิวพระยืน


จุดชมวิวพระยืน เป็นจุดชมวิวหนึ่งในหลายจุด ภายในเส้นทางของ ถนนชล-จันท์ ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดที่มีความสวยงามมาก ๆ และตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับ "หาดคุ้งวิมาร" เมื่อไปถึงจะพบกับ "พระชนะมารศรีมงคล" หรือ "หลวงพ่อยืน" ที่พระพักตร์ จะหันหน้าออกไปทางทะเล (ประมาณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) และยังมีศาลาที่สร้างไว้ให้นั่งผักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาชมวิว ถ่ายภาพ รวมไปถึงดูพระอาทิตย์ตกยามเย็นได้ด้วย ในบริเวณนี้ก็มีที่จอดรถที่กว้างสามารถจอดรถได้อย่างสบาย อีกทั้งยังมีที่จอดรถจักรยานสำหรับผู้ที่ชื่อชอบการปั่นจักรยานได้แวะพักผ่อน ชมวิวให้หายเหนื่อย

จุดชมวิวเนินนางพญา

จุดชมวิวเนินนางพญา







จุดชมวิวเนินนางพญาแห่งนี้ เป็นหนึ่งในจุดชมวิวหลายๆ แห่งของเส้นถนน "ชลจันทร์" หรือ "ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต" เป็นจุดชมวิวที่เป็นหน้าผาสูงขึ้นมา โดยวิวรอบๆ สวยงามมากๆ หากเราหันหน้าออกไปทางทะเล ด้านซ้ายมือก็จะเป็นแนวภูเขากับหน้าผา และทางด้านขวาก็จะเป็นเป็นถนนเส้นชลจันทร์ คดเคี้ยวไปตามภูเขา เป็นรูปตัว S ซึ่งทั้ง 2 ฝั่งสวยงามกันคนละแบบ และยิ่งกว่านั้น ช่วงพระอาทติย์ขึ้นและตก นอกจากเป็นสถานที่แห่งความประทับใจในเรื่องของความสวยงามของการชมวิวแล้ว ยังเป็นจุดของเรื่อง "ความรักอีกด้วย" หากสังเกตุดูที่รั่วด้านบน จะมีกุญแจมาล็อคเอาไว้มากมาย เพราะเชื่อว่า เป็นการล็อคความรักไว้กับคู่รัก หากใครได้มาที่จุดชมวิวเนินนางพญาแห่งนี้ อย่าลืมเอากุญแจมาด้วยนะครับ รวมถึงจุดชมวิวแห่งนี้ยังมีคู่แต่งงานนิยมเดินทางมาถ่ายรูปเพื่อเก็บเอาไว้ในความทรงจำอีกด้วย

คุกขี้ไก่

คุกขี้ไก่

ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ก่อนถึงท่าเทียบเรือ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112)เมื่อฝรั่งเศสได้เข้ายึดจันทบุรี ในกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ระหว่างนั้นกองทหารฝรั่งเศสประมาณ 600 คน แยกกันอยู่สองแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรี บริเวณที่เป็นค่ายทหารในปัจจุบัน อีกแห่งอยู่ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ฝรั่งเศสได้สร้างคุกขี้ไก่เพื่อใช้กักขังคนไทยที่ต่อต้านฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นหอสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร มีช่องระบายอากาศอยู่สองแถว หลังคาโปร่ง เล่ากันว่าเป็นคุกที่ทรมานมาก เพราะชั้นบนใช้เป็นที่เลี้ยงไก่ ซึ่งจะถ่ายมูลราดศีรษะนักโทษที่ถูกคุมขังตลอดเวลา
การเดินทาง
คุกขี้ไก่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 (จันทบุรี-ตราด) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3149 ก่อนถึงอำเภอแหลมสิงห์ตั้งอยู่ทางด้านขวามือ
 (ร.ศ. 112) เมื่อฝรั่งเศสได้เข้ายึดจันทบุรี ในกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ระหว่างนั้นกองทหารฝรั่งเศสประมาณ 600 คน แยกกันอยู่สองแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรี บริเวณที่เป็นค่ายทหารในปัจจุบัน อีกแห่งอยู่ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ฝรั่งเศสได้สร้างคุกขี้ไก่เพื่อใช้กักขังคนไทยที่ต่อต้านฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นหอสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละประมาณ 4.40 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร มีช่องระบายอากาศอยู่สองแถว หลังคาโปร่ง เล่ากันว่าเป็นคุกที่ทรมานมาก เพราะชั้นบนใช้เป็นที่เลี้ยงไก่ ซึ่งจะถ่ายมูลราดศีรษะนักโทษที่ถูกคุมขังตลอดเวลา ทางเข้าเป็นประตูเตี้ย ๆ ระดับเอวเท่านั้น  ใครจะเข้าไปคงต้องคลานเข้าไป
จากคุกขี้ไก่ประมาณ 3  กิโลเมตร จะมีตึกแดง ตั้งอยู่บริเวณชายหาดแหลมสิงห์ ใกล้ปากแม่น้ำจันทบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กม. เป็นอาคารฝรั่งเศส สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2436 โดยทำลายป้อมพิฆาตข้าศึกลงและก่อสร้างตึกแดงทับไว้ เพื่อใช้เป็นกองรักษาการณ์ และเป็นที่พักนายทหารที่รักษาการณ์ปากน้ำแหลมสิงห์ ตึกแดงเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างด้วยอิฐถือปูน กว้าง 7 เมตร ยาว 32 เมตร โครงหลังคาเป็นเหล็กรางรถไฟ หลังคากระเบื้องดินเผาสีแดง ประตูเปิดถึงกันหมด ปัจจุบันประกาศเป็นโบราณสถานของชาติในปี พ.ศ.2528

การเดินทาง  คุกขี้ไก่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 เส้นจันทบุรี-ตราด เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3149 ก่อนถึงอำเภอแหลมสิงห์ตั้งอยู่ทางด้านขวามือ

ตึกแดง





ตึกแดง

เป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรีตึกแดง เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน กว้าง 7 ม. ยาว 32 ม. ทาสีแดงชาด ภายในแบ่งเป็น 5 ห้อง มีประตูเปิดถึงกันหมด มีระเบียงสองด้านตามแนวยาวของตัวตึก สร้างขึ้นในบริเวณที่ตั้งป้อมปืนเก่าแก่และได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อรับศึกญวน ฝรั่งเศสได้รื้อตึกจากตัวป้อมมาสร้างตึกแดงเพื่อใช้เป็นที่พักนายทหารและกองรักษาการณ์ปากน้ำแหลมสิงห์ ตึกแดงได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2527 และใช้เป็นอาคารห้องสมุดและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนของ อ.แหลมสิงห์ ต่อมาเลิกใช้และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

น้ำตกกระทิง จันทบุรี


น้ำตกกระทิง
น้ำตกกระทิง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาคิชฌกูฏ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มี 13 ชั้น ซึ่งล้วนมีความงามต่างๆ กัน เล่นน้ำได้ แต่ละชั้นห่างกันราว 20 เมตร ในระหว่างทางจะผ่านป่าไผ่และพันธุ์ไม้หลากชนิด บางชั้นมีพืชจำพวกมอส เฟิร์น ขึ้นปกคลุมเต็มทั้งสองข้างทาง ลำธารดูเขียวชอุ่ม เมื่อต้นไม้ผลัดใบใบไม้สีเหลืองแกมแดงจะโรยใบปูทางเดินสวยงามยิ่ง ลำธารชั้นล่างของน้ำตกอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน 100 เมตร การเข้าชมต้องเสียค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท






หลวงพ่อเขียน (เขียน ขันธสโร) หรือ พระครูธรรมสรคุณ

หลวงพ่อเขียน



หลวงพ่อเขียน (เขียน ขันธสโร) หรือ พระครูธรรมสรคุณ เดิมชื่อ “เขียน ทองคำ” เกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2473 อุปสมบทวันพุธที่ 16 พ.ค. 2494 ณ วัดกะทิง ได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ม.) พ.ศ. 2499 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกะทิง พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เจ้าอาวาสชั้นตรีที่พระครูธรรมสรคุณ พ.ศ. 2528 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นตรี  พ.ศ. 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอมะขามชั้นโท พ.ศ. 2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอมะขามชั้นเอก
หลวงพ่อเขียน ท่านมีชื่อและโดดเด่นทางด้านจิตตภาวนา สามารถเดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏได้อย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้บุกเบิกตำนานการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง บนเขาคิชฌกูฏ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วง ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 4 รวมระยะเวลา 2 เดือน โดยปีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24 มกราคม-24 มีนาคมที่ผ่านมา 

สำหรับรอยพระพุทธบาทพลวง หรือรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ ถูกค้นพบในราว พ.ศ. 2397 แต่ผู้ที่มาบุกเบิกเปิดตำนานรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ให้คนรู้จัก และให้พุทธศาสนิกชนได้เดินทางขึ้นไปกราบไหว้ สักการะในความศักดิ์สิทธิ์ก็คือ“หลวงพ่อเขียน”(ผู้ล่วงลับ) โดยในปี พ.ศ. 2515 หลวงพ่อเขียนได้บุกเบิกทางขึ้น และนำรถยนต์ขึ้นเขาเป็นครั้งแรก ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาเส้นทางขึ้นยอดเขาให้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น มาจนถึงปัจจุบัน
    
       รอยพระพุทธบาทพลวงขึ้นชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งยังมีความพิเศษตรงที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,050 เมตร นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดในประเทศไทย ซึ่งปรากฏอยู่บนก้อนหินใหญ่ โดยใกล้กันนั้นมีหินลูกพระบาทหรือหินลูกบาตร ที่เป็นหินก้อนใหญ่มากตั้งตระหง่านอยู่ ลักษณะเหมือนหินเรือใบที่เกาะสิมิลัน จ.พังงา
    
      สำหรับรอยพระพุทธบาทพลวง หรือรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ ถูกค้นพบในราว พ.ศ. 2397 แต่ผู้ที่มาบุกเบิกเปิดตำนานรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ให้คนรู้จัก และให้พุทธศาสนิกชนได้เดินทางขึ้นไปกราบไหว้ สักการะในความศักดิ์สิทธิ์ก็คือ“หลวงพ่อเขียน”(ผู้ล่วงลับ) โดยในปี พ.ศ. 2515 หลวงพ่อเขียนได้บุกเบิกทางขึ้น และนำรถยนต์ขึ้นเขาเป็นครั้งแรก ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาเส้นทางขึ้นยอดเขาให้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น มาจนถึงปัจจุบัน
    
       รอยพระพุทธบาทพลวงขึ้นชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งยังมีความพิเศษตรงที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,050 เมตร นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดในประเทศไทย ซึ่งปรากฏอยู่บนก้อนหินใหญ่ โดยใกล้กันนั้นมีหินลูกพระบาทหรือหินลูกบาตร ที่เป็นหินก้อนใหญ่มากตั้งตระหง่านอยู่ ลักษณะเหมือนหินเรือใบที่เกาะ
       สิมิลัน จ.พังงา
    
       โดยมีความเชื่อว่าผู้ที่เดินขึ้นไปถึงยอดเขาซึ่งมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่นั้นจะได้บุญสูง ผู้คนจำนวนมหาศาลจึงพากันขึ้นไปกราบสักการะรอยพระพุทธบาทกันเป็นจำนวนมหาศาลในทุกๆ ปี
    
       นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกับรอยพระพุทธบาทยังมีประติมากรรมหินรูปร่างแปลกตาที่สอดคล้องกับตำนานทางพุทธศาสนา อาทิ หินพระนอน ลานแข่งรถพระอินทร์ ถ้ำฤาษี หินรูปร่างคล้ายเต่าและช้างใหญ่ รวมถึงรอยเท้าพญามารปรากฏให้เห็นด้วย
           
       นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกับรอยพระพุทธบาทยังมีประติมากรรมหินรูปร่างแปลกตาที่สอดคล้องกับตำนานทางพุทธศาสนา อาทิ หินพระนอน ลานแข่งรถพระอินทร์ ถ้ำฤาษี หินรูปร่างคล้ายเต่าและช้างใหญ่ รวมถึงรอยเท้าพญามารปรากฏให้เห็นด้วย
        

ชุมชนริมน้ำจันทบูร

ชุมชนริมน้ำจันทบูร




จังหวัดจันทบุรีที่คนทั่วไปรู้จักนั้น เป็นเมืองชายทะเล และสวนผลไม้ แท้ที่จริงนั้นจันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ มีชุมชนเก่า และ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์มากมาย เคยเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินใช้รวบรวมกำลังพล กอบกู้กรุงศรีอยุธยา
ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นชุมชนริมน้ำเก่าแก่กว่า 300 ปี ประกอบไปด้วยประชากร 3 เชื้อสายได้แก่ ไทย ญวน และ จีน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชุมชนริมน้ำจันทบูรเริ่มก่อตั้งตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงย้ายเมืองมาจากบ้านหัววัง ต.พุงทลาย (ปัจจุบันเป็น ต.จันทนิมิต จ.จันทบุรี) มายังเมืองจันทบูร ริมฝั่งแม่น้ำ ชุมชนขยายไปจนถึงย่านท่าสิงห์ ย่านท่าหลวง เนื่องจากบริเวณนี้อยู่บนเนิน น้ำไม่ท่วม อุดมสมบูรณ์ อยู่ติดแม่น้ำ สามารถออกสู่ทะเลได้ และยังปลอดภัยจากข้าศึก ศัตรู ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินก็ใช้เมืองจันทบุรีรวบรวมกำลังพล กอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า
เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ช่วงสมัยรัชการที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ย่านท่าหลวง ใกล้กับชุมชนริมน้ำจันทบูร มีความเจริญเป็นอย่างมาก มีถนนสายแรกตัดผ่าน คือ ถนนสุขาภิบาล ถนนเลียบแม่น้ำจันทบุรี บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางการค้าขาย และศูนย์การคมนาคมทั้งทางรถ และ ทางเรือ

ที่ตั้งของชุมชนริมน้ำจันทบูรเริ่มจากถนนท่าหลวงไปทางถนนสุขาภิบาลทั้งเส้น ริมสองฝั่งแม่น้ำ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร บริเวณนี้มีบ้านเรือนเก่า โบสถ์คริสต์ วัด ศาลเจ้าจีน ตลาดพลอด ร้านขายอาหาร ขนมไทยแบบดั้งเดิม ซึ่งนับวันจะหาชมได้ยาก

อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี

อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิมล 







อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิมล ตั้งอยู่ริมแม่น้ำจันทบุรีฝั่งตะวันออก ในตำบลจันทนิมิตอำเภอเมืองจันทบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์เพื่อเป็นศูนย์กลางของกลุ่มคริสตชนมาเป็นเวลานานถึง 300 ปี มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่งดงามทั้งภายในและภายนอก เป็นที่ท่องเที่ยวเชิดหน้าชูตาอีกแห่งหนึ่งของจันทบุรี
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล แห่งนี้ มีหอนาฬฺิกาเรือนใหญ่ขนาดเส้นรอบหน้าปัด 4.7 เมตร ติดอยู่ จากหอสูงนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองจันทบุรี ได้ไกลออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร อาสนวิหารมีความกว้าง 20 เมตร และยาว 60 เมตร วัดนี้ได้รับการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกด้วยศิลปะเก่าแก่อย่างสวยงามและมีคุณค่ายิ่งนัก เช่น ภาพกระจกสีของบรรดานักบุญหลายองค์ที่บริเวณเหนือพระแท่น และเหนือหน้าต่างของวัด เมื่อแสงอาทิตสาดส่องมาจากภายนอกจะทำให้มองเห็นความสวยงามของภาพบนกระจกสีได้อย่างชัดเจน บริเวณเหนือพระแท่นกลางวดมีรูปหั้นพระประธาน คือ รูปพระนางมารีอาปฏิสนธินิมล ตั้งตระง่านอย่างงดงามรวมถึงรูปปั้นของนักบุญยออากิม และ นักบุญอันนา ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของพระนาง
วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2255 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดโบสถ์ อยู่ฝั่งตะวันของแม่น้ำจันทบุรี ต่อมา พ.ศ. 2377 ได้ย้ายมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ และได้สร้างเป็นอาคารถาวรก่อนอิฐถือปูนศิลปะแบบโกธิค โดยเริ่มสร้าง 6 มกราคม พ.ศ. 2499 แล้วเสร็จสมบูรณ์จึงได้มีพิธีเสกอย่างสง่าโดยได้รับเอา พระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เป็นองค์อุปถัมภ์ของวันวัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2452 และได้สถาปนาขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อ พ.ศ. 2487
ประวัติอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี
ชุมชนคาทอลิกจันทบุรี ถือกำเนิดจากกลุ่มคาทอลิกชาวญวน 130 คน ซึ่งอพยพหนีภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในประเทศเวียดนาม มาตั้งภูมิลำเนาที่จันทบุรี ก่อนปี พ.ศ. 2454 ปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมัยกรุงศรีอยุธยา พระสังฆราชบีออง เดอ ซีไซ ได้มอบหมายให้บาทหลวงเฮิ้ต เป็นผู้ดูแลคริสตชนนี้
1. วัตถุบริสุทธิ์ ได้แก่ วัตถุดิบที่นำมาสร้างขึ้นเป็นองค์แม่พระ ประกอบด้วย ทองคำบริสุทธิ์ เงินบริสุทธิ์  และ พลองบริสุทธิ์ นำมาประกอบเข้าด้วยกันทุกชิ้นส่วนมีความสำคัญและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

2. ใจบริสุทธิ์ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชนบริจาควัตถุดิบที่จะสร้าง "แม่พระประดับพลอย" เพื่อเทดพระเกียรติให้เหมาะสมกับแม่พระ ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์และสง่างามให้ผู้พบเห็นได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาและเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลัง

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี




ประวัติการก่อสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี
วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2534 เวลา 9.19น.ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม จ.ศ. 1353 เป็นวันดี วันอุดมฤกษ์ โดยมีพลเรือเอก ปรีดา กาญจนรัตน์ ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด และเรือตรี สุกรี รักษ์ศรีทอง ผู้ว่าราชการป้องกันชายแดนจันทบุรีเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ร่วมกัน มีข้าราชการพลเรือ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน ทุกสาขาอาชีพในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมในพิธีมากมาย
ศาลออกแบบและเขียนแบบโดยช่างของกรมศิลปกร เป็นรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือรูปหมวกยอดแหลม ความสูงจากพื้นระดับถึงยอดหมวก 16.90เมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 9 เมตร ภายในศาลมีแท่นสำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระรูปของพระองค์ท่าน ยอดบนสุดเป็นฉัตร ทองคำ 9 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสามด้าน เป็นสองระดับ ระดับล่างมีบันไดสามชั้น ระดับบนมีบันได 6 ชั้น รวมเป็น 9 ชั้น ราวบันไดเป็นรูปพลสิงห์ ลำตัวอ่อนช้อยไปตามชั้นบันได กล่อด้วยโลหะทองเหลืองรมดำ ดูแล้วน่ายำเกรงเป็นอันมาก รอบนอกศาลบุด้วยหินอ่อน พื้นปูด้วยหินแกรนิต ด้านในศาลเขียนลายไทยแบบพุ่มข้าวบิณฑ์ ประตูไม้มะค่าแผ่นใหญ่ หน้าต่างไม้มะค่าและไม้สักทอง
ด้านหน้าศาลราวบันไดชั้นล่างมีสิงโตขนาดใหญ่ ข้างละ 1 ตัว นั่งอยู่ และยังมีกระถางธุปสามขนาดใหญ่ตั้งไว้ให้ประชาชนปักธูปบูชา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2534 ใช้เวลาในการสร้าง 3 ปีเศษ ได้ประกอบพิธีเปิดศาลและยกฉัตรทองคำ เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและยกฉัตรทองคำขึ้นสู่ยอดศาล พิธีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการศาลและชาวจันทบุรีมีความภาคภูมิใจปลื้มใจจนหาที่สุดมิได้ ศาลกลังนี้ใช้เงินในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 6,675,489.00 บาท เงินจำนวนดังกล่าวนี้ได้รับแรงศรัทธาบริจาคร่วมในการก่อสร้างจากประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งพี่น้องชาวไทยทั้งมวลด้วย
วิธีสักการะ
  • การไหว้ขอพร ธูป 5 ดอก เทียน 1 เล่ม ไหว้ด้านหน้าของศาล
  • วีธีบน ใช้ธูป 14 ดอก เทียน 2 เล่ม ไหว้ด้านหน้าของศาล
  • ไหว้แก้บน ธูป 14 ดอก เทียน 2 เล่ม และแก้บนตามคำกลาว หรือนำอาหารมาถวายท่าน
(นะโม 3 จบ) อาราธนาดวงพระวิญญาณ
โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรู วินาสสันติ
ถายเครื่องสักการะ
โอม สิโน ราชาเทวะ นะมามิหัง
นอกจากนี้ก็ยังสามารถถวายเครื่องสักการะอื่นๆ เวลาเดินทางเข้ามาสักการะบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกตัวอย่างเช่น ดาบ, สัตว์มงคลเช่น ม้า ไก่ เป็นต้น ซึ่งสามารถสอบถามทางเจ้าหน้าที่ดูแลศาลได้เลย

เราจะเข้าตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือ และต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว

เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของเจ้าตาก และเพึ่อรำลึกว่าบรรพบุรุษชาวจันทบุรีจำนวนไม่น้อย ได้เป็นทหารร่วมไปในกองทัพของเจ้าตาก ทั้งดินแดนเมืองจันทบุรีนี้ เป็นพื้นที่ที่เจ้าตากเคยใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลตลอดจนตระเตรียมกองทัพไปทำการรบได้รับความสำเร็จ ชาวจันทบุรีพร้อมด้วยผู้ที่มีจิตศรัทธาจึงร่วมแรงกายใจและกำลังทรัพย์ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้น สถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ แห่งหนึ่งอยู่บนเกาะกลางสวนสาธารณะ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระบรมรูปทรงม้าในท่ากระโจน ชูพระแสงดาบไปข้างหน้า มีทหารเอกขนาบข้างม้า ๔ นาย สถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ฯ อีกแห่งหนึ่งอยู่ในค่ายตากสิน บริเวณหน้ากองบังคับการ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ นาวิกโยธิน พระบรมรูปอยู่ในท่าประทับยืนบัญชาการรบ ลักษณะท่าทางเด็ดเดี่ยวจริงจังเห็นได้จากพระพักตร์เครียด พระหัตถ์ขวาทรงชูพระแสงดาบไปยังที่หมายของข้าศึก พระพักตร์ทรงหันไปตามพระหัตถ์ซ้าย แสดงพระอาการรับสั่งกับไพร่พลบริวารให้รับรู้ว่าต้องพร้อมที่จะปฎิบัติอย่างรีบเร่งรุดหน้าตามพระองค์บุกเข้าหาข้าศึก พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนี้ เป็นที่สักการบูชาของชาวจันทบุรี เหล่าทหารและบุคคลทั่วไป

วัดไผ่ล้อม จันทบุรี


วัดไผ่ล้อม







วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่ที่ตำบลจันทนิมิตร เดินทางไปตามถนนศรีจันท์ ข้ามสะพานตรีรัตน์ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำจันทบุรีไปเล็กน้อย มีแยกซ้ายไปวัดเป็นระยะทางอีกราว ๕๐๐ เมตร ภายในวัดมีจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลายเกี่ยวกับพระเจ้าสิบชาติ และมีสิ่งก่อสร้างเก่าแก่อายุเกือบร้อยปี เช่นกุฎิพระ ศาลาการเปรียญ มีไม้ฉลุแบบขนมปังขิงประดับตกแต่งสวยงาม พระอุโบสถฐาน โค้งเรียกว่า "ตกท้องช้างหรือท้องเชือก" เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝา ผนังโบราณที่สวยงามอ่อนช้อย เกี่ยวกับพระเจ้าสิบชาติที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ 
พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ วัสดุปูนปั้นปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒.๔๙ เมตร ยาว ๕๔.๑๙ เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารวัดไผ่ล้อม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยนายมนัส กลิ่นขจร จากกรมศิบปากร ผู้ปั้นแบบและท่านพระครูเทพสิทธิมุนีเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมเป็นผู้ควมคุมการก่อสร้างจัดเป็นพระพุทธไสยาสน์ใหญ่ ที่สุดในภาคตะวัน ออก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรลงกรณสยามมกุฎ ราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีสวมพระ เกศพระพุทธไสยาสน์ประจำภาคตะวันออก เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
วัดไผ่ล้อมเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองจันทบุรี ที่อายุกว่า 200 ปี ยังมี่สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่เหลืออยู่ภายในวัด เช่น กุฏิพระและศาลาการเปรียญ มีไม้ฉลุแบบขนมปังขิงประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ล้วนแล้วแต่เป็นของเก่าอายุเกือบร้อยปีทั้งสิ้น

วัดไผ่ล้อม เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่บนถนนตรีรัตน์ ตำบลจันทนิมิต อยู่ทางซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี มีพื้นที่ 28 ไร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2325 ได้รับคัดเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. 2509 และ พ.ศ. 2515 และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ. 2539